หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน คือ
การนำเอาแนวความคิดและการกระทำใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. เป็นการกระทำหรือสิ่งที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อาจจะมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม
2. สามารถนำไปใช้ได้ผลจริงในการจัดการเรียนการสอน
มีผลการศึกษายืนยัน
3. มีการเผยแพร่ให้บุคคลอื่นให้สามรถนำไปใช้ได้
4. เป็นระบบ
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู –อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู –
อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ
นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
ความหมาย
คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม
โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อหลายมิติ
(HyperMedia)
สื่อหลายมิติ คือ
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิมจากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น
“ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า
“สื่อหลายมิติ”
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง
และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย
เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์
มลิทอง. 2540: 269)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 : 53) Hypermedia
เป็นการขยายแนวความคิดจากHypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ ,
2542 : 53)
จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)
1.ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น
(Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2.ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking) โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet Internet
เป็นต้น
3.ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
การผลิตสื่อหลายมิติ
การจัดทำสื่อหลายมิติ
จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ
นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว
ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare
Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติ
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ
เพื่อการจัดเก็บและเรียกเอาข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนี้ (Yang and More,1995)
1. แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง
มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม
เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง
2. แบบเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น
มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้
โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน
โดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก
3. แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ ที่มีอยู่
การออกแบบโครงสร้างของข้อมูลสารสนเทศที่ดีจะช่วยส่งผลต่อผู้เรียนเพราะข้อมูลที่มีอยู่มากมายนั้นต้องอาศัยการเชื่อมโยงเนื้อหา
หรือการจัดระเบียบของเนื้อหาให้กับการสืบค้นภายในบทเรียน
การจัดระเบียบที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดประสบการณ์ที่ดีในการเรียนด้วยในขณะเดียวกันโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมก็ย่อมส่งผลเสียต่อผู้ใช้เช่นกัน
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง
ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง
ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์
แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990
เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ
โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว
และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercard และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย
ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมด้วย เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
นอกจากนี้
ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง
ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare ด้วย
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ประกอบด้วย
1. รูปแบบหลัก :
เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน
เปรียบเสมือนคลังของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
2. รูปแบบผู้เรียน :
เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้
เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบ
สนองแบบรายบุคคล
3. รูปแบบการปรับตัว :
เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก
และรูปแบบของผู้เรียน
โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้
โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก
บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
- ดูแผนภาพหรือภาพวาด
- ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
- ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special
effect
3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด
แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ
ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6.ใช้แผนที่ระบบ (system
map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
สรุป
สื่อหลายมิติ คือ
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย
จะทำให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น