หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต
สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย
สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก อื่น ๆ
ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า
“สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้...”
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย
บลูม และคณะ (Bloom
and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน
ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive Domain) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ
ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
2. ด้านเจตพิสัย
(Affective Domain ) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก
ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ
ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน
การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง
ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
2. สิ่งเร้า
(Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
3.การตอบสนอง
(Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ
ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.
การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น
ธรรมชาติของการเรียนรู้
-การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า
(Stimulus) มากระตุ้นบุคคล
-การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
-การเรียนรู้เกิดได้ง่าย
ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
-การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้
2 ลักษณะ
1.การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก
(Positive Transfer) คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น
ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น
2.การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ
(Negative Transfer) คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง
หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร
การนำความรู้ไปใช้
1.ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่
ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
2.พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
3.ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ
และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
4. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน
ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
5. พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญ
ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 3
ประการ คือ
1.มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน
ถาวร
2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์
หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ เท่านั้น
3.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้
ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก
เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์
เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ
วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์
มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ
แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Associative Theories)
2. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ
(Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้
ดังนี้
1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theories)
1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical
Conditioning Theories)
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning Theory)
2. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism
Theories)
2.1ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
2.2 ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรม (Behavior
Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
การแต่งพฤติกรรม (Shaping Behavior ) เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่
โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย
จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Instruction)
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา
หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ คำเฉลย
การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ Skinner
คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมจบ ๑ บท
จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ
แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆไปอีก
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-ทำให้ครูทราบทฤษฎี
หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น